

10 เทคนิคการมัดใจลูกน้อง
พวกเราเคยได้ยินคำสอนของสุนทรภู่ที่ว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา” กันบ้างไหมครับ
ความรู้จะช่วยให้เราสามารถรักษาตัวเองให้อยู่รอดดำรงชีวิตได้และพวกเราเคยได้ยินคำว่า
“มัดอะไรก็ไม่สู้มัดใจลูกน้อง” บ้างไหมครับ
เรื่องนี้เป็นความจริงมากๆสำหรับท่านผู้บริหารและผู้นำทุกท่านที่มีลูกน้องเพราะหากเราสามารถมัดใจลูกน้องได้แล้วละก็
เราจะเสกลมเสกฝนก็คงทำได้เลย
วันนี้ขอแชร์ 10 เทคนิคการมัดใจลูกน้อง ซึ่งผู้นำทุกท่านสามารถนำไปใช้งานได้ทันทีไม่ได้เป็นอะไรที่ยากเลย
เทคนิคแรกก็คือการชื่นชมให้กำลังใจมากกว่าตำหนิติเตียน
ไม่มีลูกน้องคนไหนชอบถูกตำหนิต่อว่าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการมัดใจลูกน้องเริ่มต้นง่ายง่ายด้วยการชื่นชมให้กำลังใจบ่อยๆ
เพราะคำชมเหมือนยาชูกำลังทำให้คึกคักและมีกำลังใจ
เทคนิคที่สองคือการรับฟังความคิดเห็นลูกน้องให้มากกว่าการสั่งงานหรือการพูดอยู่ฝ่ายเดียว
พวกเราคิดว่าโดยปกติแล้วหัวหน้ามักจะเป็นคนพูดมากกว่าฟังหรือฟังมากกว่าพูดครับ
ใช่แล้วหัวหน้าส่วนใหญ่จะพูดมาก็ฟังพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดแล้วก็สั่งให้ลูกน้องไปทำ
ลองเดินย้อนศรดูบ้านด้วยการรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องมากขึ้นและคุณจะประหลาดใจว่าลูกน้องคุณก็มีไอเดียดีดีมากมายเช่นกัน
เทคนิคที่สามคือการสอบถามความคิดเห็นให้ลูกน้องมีส่วนร่วม
อย่าลืมนะครับการถามลูกน้องเป็นการให้เกียรติลูกน้องเช่นกัน ถามเค้าเลยคิดยังไงกับเรื่องนี้ รู้สึกยังไงกับเรื่องนี้
ถ้าเป็นคุณคุณจะจัดการเรื่องนี้ยังไงแค่นี้ลูกน้องก็รู้สึกดีมาก และไม่ว่าคำตอบที่ลูกน้องให้มาจะเป็นอย่างไร
เราก็ควรจะขอบคุณที่เค้าแสดงความคิดเห็นด้วย
เทคนิคที่สี่คือการโฟกัสที่จุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน มันไม่มีลูกน้องคนไหนชอบให้ลูกพี่ขยี้จุดอ่อนหรือปมด้อย
ผู้นำที่ดีควรจะเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงฝีมือด้วยจุดแข็งที่เขามี เพราะนอกจากจะสร้างคุณค่าให้กับทีมแล้ว
ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกน้องเองด้วย
เทคนิคที่ห้าก็คือการให้กำลังใจและให้ความสำคัญกับงานที่ลูกน้องทำ
เราจะต้องสื่อสารให้ลูกน้องรับรู้ได้ว่างานที่เค้าทำมันมีคุณค่าและประโยชน์กับบริษัทมากน้อยแค่ไหน
โดยหลักจิตวิทยาแล้วทุกคนต้องการเป็นคนสำคัญและรู้สึกว่างานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ก็มีประโยชน์กับบริษัทด้วย
เทคนิคที่หกคือการสอนงานให้คำแนะนำและแบ่งปันความรู้ให้กับลูกน้องเสมอ
การสอนงานและการแบ่งปันความรู้การสร้างบารมีของผู้นำยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งสอนยิ่งเก่ง ดังนั้น ผู้นำควรจะเข้าใจในเรื่องนี้
และหาโอกาสสอนงานลูกน้องเพื่อให้เขาเป็นคนที่เก่งขึ้นเติบโตขึ้น
เทคนิคข้อที่เจ็ดคือการมอบหมายงานสำคัญเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงฝีมือ
เราต้องทำใจให้กว้างและแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าเราไว้วางใจเขามากแค่ไหน จึงได้มอบหมายงานสำคัญให้
แม้ว่าการมอบหมายงานจะมีความเสี่ยงแต่ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เรียนรู้
เทคนิคข้อที่แปดคือเมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาดก็ต้องให้อภัยและรับผิดแทนลูกน้อง
แบบนี้ซื้อใจได้แน่นอนในขณะที่พาลูกน้องสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมคุณต้องยกเครดิตดีให้กับเขาด้วยเช่นกัน
เทคนิคข้อที่เก้าคือผู้นำจะต้องมีความยุติธรรมทำตัวเหมือนเปาบุ้นจินไม่เลือกที่รักมักที่ชังไม่เล่นการเมือง ไม่มีลูกน้องคนโปรด
นอกจากนี้ผู้นำควรจะกล้าให้ฟิตแบคกับลูกน้องด้วยความจริงใจตรงไปตรงมา เพื่อเป็นกระจกสะท้อนให้พวกเขาเห็นว่า
อะไรคือสิ่งที่มาถูกทางแล้วและอะไรคือสิ่งที่ควรจะปรับแก้ไขด้วย
สำหรับเทคนิคข้อสุดท้ายซึ่งเป็นข้อที่สิบ ก็คือการสนับสนุนผลักดันให้ลูกน้องมีความก้าวหน้าทุกวิถีทาง
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนส่งไปอบรมภายนอก การให้ไปดูงานหรือแม้กระทั่งการส่งเสริมให้ลูกน้องมีโอกาส
ได้ไปแข่งขันการเลื่อนตำแหน่งงานภายในองค์กรด้วย
มีหัวหน้าหลายคนทำใจเรื่องนี้ไม่ได้เพราะต้องการเก็บพนักงานคนเก่งเอาไว้เป็นแขนซ้ายแขนขวา
ซึ่งหากใจแคบแบบนี้สุดท้ายลูกน้องก็จะลาออกทำให้บริษัทเสียคนเก่งเก่งไป
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ 10 เทคนิคการมัดใจลูกน้อง
ชอบข้อไหน โดนใจเทคนิคอะไร ก็ลองนำไปใช้งานกันเลยนะครับ เพราะว่ามัดอะไรก็ไม่ดี
เท่ากับการมัดใจลูกน้องแล้ว
ขอให้ทุกท่านโชคดีมีความสุขแล้วพบกันใหม่ในรายการชัยพัชร์ชวนคุยในครั้งหน้า
วันนี้ขอบคุณมากนะครับทุกคน
ดร.ชัยพัชร์
DeOne Group